๑ สภาพภูมิศาสตร์
จังหวัดปทุมธานีตั้งอยู่ในภาคกลางประมาณเส้นรุ้งที่ ๑๔ องศาเหนือ และเส้นแวงที่ ๑๐๐ องศา ตะวันออก อยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ๒.๓๐ เมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๑,๕๒๕.๘๕๖ ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ ๙๕๓,๖๖๐ ไร่ ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนน พหลโยธิน) เป็นระยะทางประมาณ ๒๗.๘ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง คือ
– ทิศเหนือ ติดต่อกับอําเภอบางไทร อําเภอบางปะอินและอําเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อําเภอหนองแค และอําเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี
– ทิศตะวันออก ติดต่อกับอําเภอองครักษ์จังหวัดนครนายก และอําเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัด ฉะเชิงเทรา
– ทิศตะวันตก ติดต่อกับอําเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อําเภอบางเลน จังหวัด นครปฐม และอําเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
– ทิศใต้ติดต่อกับเขตหนองจอก เขตคลองสามวา เขตสายไหม เขตบางเขน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และอําเภอปากเกร็ด อําเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
๒. สภาพภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่มริมสองฝั่งแม่น้ำโดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านใจกลางจังหวัด ในเขตอําเภอเมืองปทุมธานีและอําเภอสามโคก ทําให้พื้นที่ของจังหวัดปทุมธานีถูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ฝั่งตะวันตกของจังหวัดหรือบนฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาได้แก่ พื้นที่ในเขตอําเภอลาดหลุมแก้วกับพื้นที่บางส่วน ของอําเภอเมือง และอําเภอสามโคก กับฝั่งตะวันออกของจังหวัด หรือบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ พื้นที่อําเภอเมืองบางส่วน อําเภอธัญบุรี อําเภอคลองหลวง อําเภอหนองเสือ อําเภอลําลูกกา และบางส่วนของอําเภอสามโคก โดยปกติระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาในฤดูฝนจะเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ซึ่งทําให้เกิดภาวะน้ำท่วมในบริเวณพื้นที่ราบริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นบริเวณกว้าง และก่อให้เกิด ปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา สําหรับพื้นที่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยานั้น เนื่องจาก ประกอบด้วยคลองซอยเป็นคลองชลประทานจํานวนมาก สามารถควบคุมจํานวนปริมาณน้ำได้ทําให้ปัญหา เกี่ยวกับอุทกภัยมีน้อยกว่า
๓. สภาพภูมิอากาศ
จังหวัดปทุมธานีตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ ละติจูด ๑๔ องศา ๖ ลิปดาเหนือ ลองติจูด ๑๐๐ องศา ๓๗ ลิปตา ตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ๖ เมตร มีลักษณะอากาศแบบทุ่งหญ้าเมือง ร้อน คือ มีฝนตกปานกลางและสลับฤดูแล้ง บริเวณภาคกลางตอนล่าง อากาศจะชุ่มชื้น เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ ทะเลอ่าวไทย ปัจจัยที่ควบคุมอุณหภูมิได้รับอิทธิพลจาก ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่นําความชุ่มชื้นมาสู่จังหวัด โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ ๒๗-๒๘ องศาเซลเซียส ซึ่งอากาศค่อนข้างร้อน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ ๑,๓๗๕ มม. ฝนตกมากสุดในเดือน กันยายน
๔. การปกครอง
ในปัจจุบัน จังหวัดปทุมธานี แบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น ๗ อําเภอ ๕๓ ตําบล ๔๖๐ หมู่บ้าน การปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบไปด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด ๑ แห่ง เทศบาลนคร ๑ แห่ง เทศบาลเมือง ๙ แห่ง เทศบาลตําบล ๑๗ แห่ง และองค์การบริการส่วนตําบล ๓๗ แห่ง อําเภอประกอบไป ด้วย อําเภอเมืองปทุมธานี อําเภอธัญบุรี อําเภอคลองหลวง อําเภอลําลูกกา อําเภอลาดหลุมแก้ว อําเภอสามโคก และอําเภอหนองเสือ
๕. ประชากร
จังหวัดปทุมธานีมีประชากร ณ วันที่ ๓๐ ธ.ค. ๒๕๕๔ ทั้งสิ้น ๑,๐๐๕,๗๖๐ คน เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๓ คิดเป็นร้อยละ ๒.๐๔ จําแนก เป็นชาย ๔๗๘,๑๘๒ คน หญิง ๕๒๗,๕๗๘ คน จํานวนประชากรชายคิดเป็น ร้อยละ ๔๗.๕๔ ประชากรหญิงคิดเป็นร้อยละ ๕๒.๔๖ ของประชากรทั้งหมด มีจํานวนครัวเรือนทั้งสิ้น ๔๗๐,๖๙๘ ครัวเรือน ลดลงจากปี๒๕๕๓ คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๑๖
๖. การศึกษา
จังหวัดปทุมธานีแบ่งพื้นที่การศึกษาระดับประถมศึกษาแบ่งเป็น ๒ เขต ประกอบด้วย สํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต ๑ ครอบคลุมพื้นที่ ๔ อําเภอ คือ อําเภอเมืองปทุมธานี คลองหลวง สามโคกและอําเภอลาดหลุมแก้ว สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต ๒ ครอบคลุมพื้นที่ ๓ อําเภอ ได้แก่อําเภอธัญบุรี ลําลูกกา และอําเภอหนองเสือ และสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔ ครอบคลุมพื้นที่ ๗ อําเภอ ได้แก่ อําเภอเมืองปทุมธานี คลองหลวง สามโคก อําเภอลาดหลุมแก้ว อําเภอธัญบุรี ลําลูกกา และอําเภอหนองเสือ ในปีการศึกษา ๒๕๕๔ มีสถานศึกษาในสังกัดสํานักงาน คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานและ อื่น ๆ รวม ๑๙๑ แห่ง และสํานักงานบริหารงานการศึกษาเอกชน ๘๒ แห่ง รวม ๒๗๓ แห่ง จํานวนห้องเรียน ๕,๐๘๐ ห้องเรียน ครู ๖,๓๒๖ คน นักเรียนจํานวน ๑,๐๓๙,๘๗๖ คน
การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดปทุมธานีมีสถานศึกษาในสังกัดของสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปทุมธานี ๗ แห่ง และห้องสมุดประชาชน ๗ แห่ง ได้แก่
๑. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอเมืองปทุมธานี
๒. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอสามโคก
๓. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอลาดหลุมแก้ว
๔. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอลําลูกกา
๕. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอคลองหลวง
๖. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอธัญบุรี
๗. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอหนองเสือ
ห้องสมุดประชาชน ๗ แห่ง ได้แก่
๑. ห้องสมุดประชาชนจังหวัดปทุมธานี
๒. ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อําเภอลาดหลุมแก้ว
๓. ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อําเภอธัญบุรี
๔. ห้องสมุดประชาชนอําเภอสามโคก
๕. ห้องสมุดประชาชนอําเภอคลองหลวง
๖. ห้องสมุดประชาชนอําเภอลําลูกกา
๗. ห้องสมุดประชาชนอําเภอหนองเสือ