Panjavidhya Technological College

Best Practice

4. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาที่เป็นแบบอย่ำงที่ดี (Best Practice)

*ชื่อผลงาน รถประหยัดพลังงานการส่งต่อองค์ความรู้จำกรุ่นสู่รุ่น

4.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ทีมแข่งรถประหยัดพลังงาน มีประวัติศาสตร์เกี่ยวพันกับการดาเนินงานของวิทยาลัยเทคโนโลยีช่างฝีมือปัญจวิทยา กล่าวคือเกือบ 50 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปีการศึกษาแรกที่เปิดทาการคือ ปี 2514 วิทยาลัยฯ เป็นสถานศึกษาด้านอุตสาหกรรมที่เปิดทาการสอนเพียง1สาขางานที่เกี่ยวกับยานยนต์ จึงมีความชานาญและประสบการณ์ในด้านการจัดการเรียนการสอนงานช่างยนต์ ในช่วงแรกผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นตรงกันว่าควรมีผลงานที่เป็นจุดเด่นหรืออัตลักษณ์แสดงความเป็นสถาบันที่ผลิตนักศึกษาช่างยนต์ออกสู่ตลาดแรงงาน และหาเวทีของหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อแสดงความสามารถและทักษะของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอน จนกระทั่งปี 2539 บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จากัด ได้จัดการแข่งขันรถประหยัดน้ามันโดยได้เชิญสถานศึกษาทุกระดับเข้าร่วมทาการแข่งขัน ทางวิทยาลัยฯที่ได้รับเชิญเข้าร่วมการแข่งขันรถประหยัดน้ามัน จึงได้รวบรวมครูและนักศึกษาที่มีความสามารถเพื่อออกแบบสร้างรถประหยัดน้ามันเข้าทาการแข่งขัน นาทีมโดยอาจารย์บุญล้อม โตต้น ผู้มีความสามารถในการออกแบบได้เริ่มคิดและออกแบบ รูปแบบรถเป็นรถ 4 ล้อใช้เครื่องยนต์ ยามาฮ่า 100 CC กว้าง 1.2 เมตร ยาว 3 เมตร เป็นรถที่มีระบบรองรับน้าหนักหน้าและหลังใช้โชคอัพ แต่ละชิ้นส่วนที่ประกอบกันเป็นรถประหยัดน้ามันดังกล่าวเป็นการออกแบบสร้างขึ้นมาใหม่เกือบทุกชิ้นส่วนเนื่องจากไม่มีรถต้นแบบ ซึ่งเป็นผลงานของครูและนักเรียนที่นาความรู้ ทักษะที่ได้รับมาจากในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการมาประยุกต์ใช้ ในสนามการแข่งขันจริง วิธีตัดสินการแข่งเป็นการวัดการประหยัดน้ามันหรือการใช้น้ามันเชื้อเพลิงให้น้อยที่สุดตามระยะทางที่กาหนดให้ มีบางทีมที่เข้าร่วมทาการแข่งขันใช้วิธีสตาร์ทเครื่องยนต์ให้ได้ความเร็วแล้วดับเครื่องยนต์ให้รถเคลื่อนที่ไปด้วยแรงเฉื่อยให้ได้ระยะทางไกลแล้วสตาร์ทเครื่องยนต์อีกทาซ้าไปจนกว่าจะครบระยะทางที่กาหนด แต่ทีมของวิทยาลัยฯ ไม่ได้ดับเครื่องยนต์เลยแต่ได้ทาการปรับแต่งเครื่องยนต์ให้ได้ค่าประหยัดจริง ผลการแข่งขันในครั้งนั้นได้ลาดับที่ 3 ต่อจากนั้นในปีต่อมา บริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จากัด ได้เปิดโครงการแข่งขันรถประหยัดน้ามันจนถึงปัจจุบันโดยใช้ชื่อการแข่งขันว่า Honda ECO Mileage Challenge วิทยาลัยฯ โดยท่านผู้อานวยการได้เล็งเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ครูและนักศึกษาที่จะได้มีเวทีที่จะแสดงผลงานที่เกิดจากความเป็นช่างยนต์ของครูและนักศึกษา จึงได้สนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอกาหนดให้เข้าร่วมการแข่งขันทุกปีตลอดมา

4.2 วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ครูและนักศึกษามีเวทีการแข่งขันที่เป็นการฝึกการทางานเป็นทีม รวมทั้งเป็นการวัดความสามารถ ทักษะและการประยุกต์ใช้ ของนักศึกษาที่ได้รับมาจากการอบรมสั่งสอนของครู-อาจารย์ในสถาบันมาใช้แก้ไขปัญหาในงานจริง
    2. เพื่อให้ครูและนักศึกษา ได้ค้นหาความรู้ นวัตกรรม และประสบการณ์ใหม่ๆ ตลอดจนการทางานของทีมแข่งขันที่หาเรียนรู้ไม่ได้ในตาราและภายในห้องเรียน
    3. เพื่อเป็นการพัฒนาครูและนักศึกษาในด้านการแข่งขันในสนามจริง ในด้านตัวรถและระบบต่างๆของเครื่องยนต์ พัฒนาการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสนามจริงและนาไปใช้ในการแข่งขันในปีถัดไป
    4. เพื่อเป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่ ครู นักศึกษา วิทยาลัยฯ และประเทศชาติ

4.3 วิธีการดำเนินงานและผลการดำเนินงาน

ตั้งแต่ปี 2540-2553 ปีที่ 1-13 การแข่งขัน Honda ECO Mileage Challenge ได้จัดการแข่งเป็นภูมิภาค แล้วจึงมาแข่งรวมในสนามสุดท้ายระดับประเทศ เมื่อวิทยาลัยได้รับหนังสือเชิญจากบริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จากัด วิทยาลัยฯ จึงได้มอบหมายให้อาจารย์บุญล้อม โตต้น จากนั้นจึงได้มีการประชุมทีมอาจารย์และนักศึกษาในทีมเพื่อออกแบบในเรื่องตัวรถที่ต้องมีการห่อหุ้มคนขับ ที่หัวรถมีลักษณะหัวมลใหญ่เพื่อแหวกอากาศได้ดีตามลักษณะเครื่องบินและระบบรองรับน้าหนักเป็นเหล็กแผ่นสปริงเพื่อใช้แทนโชคอัพที่มีชิ้นส่วนที่ใหญ่ สาหรับเครื่องยนต์ยังคงนาประโยชน์จากล้อช่วยแรงเข้ามาใช้สะสมแรงในเวลาดับเครื่องยนต์ อีกทั้งยังมีการปรับปรุงเครื่องยนต์โดยการเพิ่มหัวเทียนเข้าอีกหนึ่งเป็น 2 หัวเทียนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้และช่วยในกรณีที่หัวเทียนหัวใดหัวหนึ่งเสียอีกหัวก็สามารถทางานได้ และระบบส่งกาลังเป็นแบบโซ่ที่มีอัตราทดต่าเนื่องจากในรอบเครื่องยนต์ต่าเพื่อประหยัดน้ามันเชื้อเพลิง ส่งผลให้ทีมติดลาดับ ต้นของประเทศ และยังได้รับรางวัลตลอด 13 ปีอย่างต่อเนื่อง

    • ในปี 2554 ปีที่ 14 ทางทีมงานได้ทาการปรับเปลี่ยนรูปแบบและวัสดุที่ใช้ทาตัวรถเป็นคาร์บอนไฟเบอร์ ซึ่งทาให้ตัวรถเบาและมีความแข็งแรงมากขึ้น นับเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ได้มาจากการสั่งสมความรู้ ประสบการณ์เกิดเป็นความคิดต่อยอดเพื่อพัฒนา อีกทั้งได้ปรับเปลี่ยนล้อจากล้อเหล็กเปลี่ยนเป็นล้อคาร์บอนไฟเบอร์ ซึ่งมีราคาสูงมาก แต่ก็ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากทางวิทยาลัยฯ อย่างเพียงพอ
    • ในปี 2555 ปีที่ 15 สนามไทยแลนด์เซอรกิต จ.นครปฐม ได้รางวัลลาดับที่ 2 ค่าประหยัดพลังงานที่ทาได้ 1,031 กิโลเมตรต่อน้ามัน 1 ลิตร
    • ในปี 2556 ปีที่ 16 สนามไทยแลนด์เซอร์กิต จ.นครปฐม ได้รางวัลลาดับที่ 1 ค่าประหยัดพลังงานที่ทาได้ 1,641 กิโลเมตรต่อน้ามัน 1 ลิตร
    • ในเดือน กันยายน 2556 ทีมวิทยาลัยฯได้สิทธิ์เป็นตัวแทนประเทศไทยไปทาการแข่งขันฮอนด้าประหยัดเชื้อเพลิง Honda Eco Mileage 34th, Soichior Cup 2014 ณ สนาม Twin Ring Moteki ประเทศญี่ปุ่นได้รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ด้วยสถิติ 2,127.833 กิโลเมตรต่อน้ามันเบนซิน 1 ลิตร นับเป็นตัวแทนของประเทศไทยทีมแรกที่ไปชนะเลิศในรายการนี้
    • ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2557 ทีมวิทยาลัยฯ ได้ให้สัมภาษณ์ในการ Good Morning Thailand ของช่อง Mono29 เป็นรายออกอากาศสด ในปี 2557 ปีที่ 17 สนามไทยแลนด์เซอร์กิต จ.นครปฐม ได้ลาดับที่ 5 ค่าประหยัดพลังงานที่ทาได้ 973 กิโลเมตรต่อน้ามัน 1 ลิตร
    • ในปี 2558 ปีที่ 18 สนามช้างอินเตอร์เนชันแนลเซอร์กิต จ.บุรีรัมย์ ได้ลาดับที่ 6 ค่าประหยัดที่พลังงานทาได้ 1,079 กิโลเมตรต่อน้ามัน 1 ลิตร
    • ในปี 2559 ปีที่ 19 สนามช้างอินเตอร์เนชันแนลเซอร์กิต จ.บุรีรัมย์ ได้ลาดับที่ 3 ค่าประหยัดพลังงานที่ทาได้ 2,635 กิโลเมตรต่อน้ามัน 1 ลิตร
    • ในปี 2560 ปีที่ 20 สนามช้างอินเตอร์เนชันแนลเซอร์กิต จ.บุรีรัมย์ ได้ลาดับที่ 1 ค่าประหยัดพลังงานที่ทาได้ 2,912 กิโลเมตรต่อน้ามัน 1 ลิตร
    • ในปี 2561 ปีที่ 21 สนามช้างอินเตอร์เนชันแนลเซอร์กิต จ.บุรีรัมย์ ได้ลาดับที่ 2 ค่าประหยัดพลังงานที่ทาได้ 1,518 กิโลเมตรต่อน้ามัน 1 ลิตร
    • ในเดือน กันยายน 2561 ทีมวิทยาลัยฯ ได้สิทธิ์เป็นตัวแทนประเทศไทยไปทาการแข่งขันฮอนด้าประหยัดเชื้อเพลิง Honda Eco Mileage 34th, Soichior Cup 2019 ณ สนาม Twin Ring Moteki ประเทศญี่ปุ่นได้รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ด้วยสถิติ 3056 กิโลเมตรต่อน้ามันเบนซิน 1 ลิตร นับเป็นตัวแทนของประเทศไทยทีมแรกที่ไปชนะเลิศในรายการนี้เป็นครั้งที่ 2 จากผลงานการแข่งขันภายในประเทศ วิทยาลัยฯได้รับเชิญให้เข้าร่วมทาการแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติ ในรายการระดับโลก Shell Eco -Marathon Asia โดยประสบผลสำเร็จตามลาดับดังนี้
    • ในปี 2014 ปีที่ 5 ณ ประเทศ ฟิลิปปินส์ ได้รางวัลชนะเลิศประเภท Prototype หรือยานยนต์ต้นแบบแห่งอนาคต โดยสามารถวิ่งทาระยะทางได้ไกลถึง 2040. กิโลเมตร ด้วยปริมาณเชื้อเพลิงเพียงหนึ่งลิตร
    • ในปี 2016 ปีที่ 7 ณ ประเทศ ฟิลิปปินส์ ได้รางวัลชนะเลิศประเภท Prototype หรือยานยนต์ต้นแบบแห่งอนาคต โดยสามารถวิ่งทาระยะทางได้ไกลถึง 2,289 กิโลเมตร ด้วยปริมาณเชื้อเพลิงเพียงหนึ่งลิตร
    • ในปี 2017 ปีที่ 8 ณ ประเทศ ฟิลิปปินส์ ได้ลาดับที่ 2
    • ในปี 2018 ปีที่ 9 ณ ประเทศ สิงคโปร์ ได้คว้าแชมป์ประเภท Prototype หรือยานยนต์ต้นแบบแห่งอนาคต โดยสามารถวิ่งทาระยะทางได้ไกลถึง 2,341.1 กิโลเมตร ด้วยปริมาณเชื้อเพลิงเพียงหนึ่งลิตร ทีมนักศึกษาร่วมแข่งขันทั้งหมด 122 ทีม จาก 18 ประเทศทั่วเอเชียแปซิฟิก

4.4 ประโยชน์ที่ได้รับ

จากการเข้าร่วมทาการแข่งขันโครงการรถประหยัดพลังงานกว่า 20 ปีที่ผ่านมา ทาให้ครูและนักศึกษา ได้รับความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ระดับโลก ซึ่งไม่สามารถหาได้ในห้องเรียน หรือสถานประกอบการ ตลอดจนมีการสั่งสมองค์ความรู้ ส่งต่อรุ่นต่อรุ่น เนื่องจากนักศึกษาที่อยู่ในทีมรถประหยัดพลังงานที่สำเร็จการศึกษาไป ต่างส่งต่อความรู้ ทักษะ ประสบการ์ในสนามจริงให้กับรุ่นน้องในทีม นาไปพัฒนาต่อยอดตามเกณฑ์ของเจ้าของโครงการแข่งขันที่ปรับเปลี่ยนไปทุกปี องค์ความรู้ นวัตกรรม ที่เกิดขึ้นตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา นับว่าเป็นความรู้ที่ตีเป็นมูลค่าไม่ได้แต่สามารถนาไปพัฒนาราวิชาต่างๆ ที่ใช้ในการเรียนการสอนให้กับนักเรียนรุ่นสู่รุ่นเพื่อที่นักเรียนจะสามารถนาไปประยุกต์ใช้กับการเรียน และงานที่ทาในอาชีพได้