Panjavidhya Technological College

1.2 ด้านทักษะและการประยุกต์ใช้

1.2 ด้านทักษะและการประยุกต์ใช้

ผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษามีทักษะที่จาเป็นในศตวรรษที่ 21 ทักษะวิชาชีพ และทักษะชีวิตเป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับการศึกษา สามารถประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และการดารงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีสุขภาวะที่ดี

ผลสัมฤทธิ์

2. ด้านทักษะและการประยุกต์ใช้

ผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ด้านทักษะและการประยุกต์ใช้ตามรายการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษา ดังนี้

2.1) การดูแลและแนะแนวผู้เรียน

2.1.1) เชิงปริมาณ : จานวนผู้สำเร็จการศึกษา 333 คน

2.1.2) เชิงคุณภาพ : ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 72.92

2.1.3) ผลสะท้อน : สถานประกอบการพอใจในทักษะและการประยุกต์วิชาชีพเข้าสู่อาชีพของผู้สำเร็จการศึกษา และสามารถปฏิบัติงานในสถานประกอบการได้อย่างมีคุณภาพ นักเรียน นักศึกษา ได้รับการฝึกทักษะจากการเรียนการสอนตามหลักสูตรจากครูผู้สอนที่มีประสบการณ์เฉพาะสาขางานนั้นมาโดยตลอด ซึ่งครูผู้สอนได้รับการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน การฝึกทักษะ และการจัดอุปกรณ์การฝึกร่วมกับสถานประกอบการ การส่งนักเรียนนักศึกษาออกฝึกงานภายนอกตามหลักสูตร วิทยาลัยฯ ได้คัดเลือกสถานประกอบการที่มีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นสถานที่ฝึกงาน มีอาจารย์ที่มีประสบการณ์และมีเครือข่ายกับสถานประกอบการมาเป็นผู้รับผิดชอบ พร้อมทั้งในการบวนการเรียนการสอน ได้นาผู้ที่ผ่านการประกอบวิชาชีพในศูนย์บริการมาเป็นครูฝึกในวิทยาลัยฯ โดยเฉพาะทาให้นักเรียน นักศึกษาได้รับประสบการณ์จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในการส่งนักศึกษาออกฝึกงานในสถานประกอบการ วิทยาลัย จัดส่งอาจารย์ออกนิเทศอย่างสม่าเสมอตลอดการฝึก และนากระบวนการแข่งขันทักษะวิชาชีพทั้งภายใน ภายนอกมากระตุ้นให้นักเรียน นักศึกษาเห็นความจริงจังในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น

2.2) ผู้เรียนมีสมรรถนะในการเป็นผู้ประกอบการหรือการประกอบอาชีพอิสระ

2.2.1) เชิงปริมาณ :  1. จานวนผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระ 0 คน

   2. จานวนผู้เรียนประสบความสำเร็จสู่การเป็นผู้ประกอบการหรือการ ประกอบอาชีพอิสระ 0 คน

2.2.2) เชิงคุณภาพ: ผลการประเมินศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา: ในปีการศึกษา 2561 ที่ผ่านมาไม่สามารถดาเนินการตามแนวทางของศูนย์บ่มเพาะได้สำเร็จ เนื่องจากวิทยาลัยฯ อยู่ระหว่างดาเนินการขออนุญาต อศจ.จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะภายในวิทยาลัยฯ

2.2.3) ผลสะท้อน : ในปีการศึกษา 2561 ที่ผ่านมา ไม่สามารถดาเนินการตามแนวทางของศูนย์บ่มเพาะได้สำเร็จ เนื่องจากวิทยาลัยฯอยู่ระหว่างดาเนินการขออนุญาต อศจ.จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะภายในวิทยาลัยฯ แต่มีนักเรียนบางคนที่สามารถนาวิชาชีพที่ได้รับไปประกอบอาชีพอิสระซึ่งทางวิทยาลัยจะได้นากระบวนการสร้างผู้ประกอบการและการประกอบอาชีพอิสระมาเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2562 อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

2.3) ผลงานของผู้เรียนด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย

2.3.1) เชิงปริมาณ : จานวนผลงาน นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย 3 ชิ้น

2.3.2) เชิงคุณภาพ : รางวัลที่ได้รับจากการประกวดนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งาน สร้างสรรค์ หรืองานวิจัย 3 ชิ้น รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ 1 ชิ้น รองชนะเลิศ 1 ชิ้น และรางวัลชนะเลิศระดับนานาชาติ 1 ชิ้น

2.3.3) ผลสะท้อน : วิทยาลัยฯ จัดการเรียนการสอนเพียง 1 สาขาวิชา กว่า 40 ปีที่ผ่านมาในสาขาช่างยนต์ โครงการรถประหยัดพลังงานของวิทยาลัยฯ กว่า 20 ปีที่ผ่านมา เป็นผลงานของนักเรียนและครูที่ส่งต่อองค์ความรู้ นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยี และอีกหลายๆ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ จากรุ่นสู่รุ่น โดยมีเวทีที่ใช้สาหรับพิสูจน์ความสามารถดังกล่าวสาหรับสถานศึกษาทุกระดับ องค์กร หน่วยงาน และประชาชนทั่วไปเพียงรายการเดียวในประเทศไทยคือรายการ Honda Eco Mileage challenge วิทยาลัยฯ โดยครูและผู้เรียนได้นาประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับจากการเข้าร่วมทาการแข่งขัน พัฒนายานยนต์ประหยัดพลังงานจนได้รับรางวัลชนะเลิศหลายครั้งในหลายปีที่ผ่านมา และสามารถผลักดันตัวเองจนสามารถเข้าร่วมทาการแข่งขันในระดับนานาชาติ (เอเซีย) รายการระดับโลก Shell Eco Marathon และประสบความสำเร็จได้รับรางวัลชนะเลิศ 3 ครั้ง ในปี 2014, 2016, 2018 ทาให้วิทยาลัยฯ เป็นที่ยอมรับของหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ตลอดจนนักเรียนที่เป็นทีมงานได้รับการคัดเลือกเข้ารับรางวัลพระทานนักเรียนที่มีผลงานทางด้านอาชีวศึกษาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา นับเป็นความภูมิใจของวิทยาลัยฯ

2.4) ผลการแข่งขันทักษะวิชาชีพ

2.4.1) เชิงปริมาณ : จานวนผู้เรียนที่ได้รับรางวัลจากการแข่งขันทักษะวิชาชีพ 12 คน

2.4.2) เชิงคุณภาพ : ผลการแข่งขันทักษะวิชาชีพในแต่ละระดับ ระดับจังหวัด 1 เหรียญเงิน 1 เหรียญทองแดง ระดับภาค 2 เหรียญทอง 4 เหรียญเงิน 1 เหรียญทองแดง

2.4.3) ผลสะท้อน : วิทยาลัยฯ เปิดสอนเพียง 2 สาขางาน คือสาขางานยานยนต์ในระดับปวช. และสาขางานเทคนิคยานยนต์ในระดับปวส. วิทยาลัยฯ จัดการเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ ตามหลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสาขางานที่เรียน ผู้เรียนที่ได้รับรางวัลจากการแข่งขันทักษะวิชาชีพ เมื่อสำเร็จการศึกษาและมีงานทา สถานประกอบการ หน่วยงานที่รับเข้าทางานต่างพอใจในความสามารถ และทักษะ ที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นที่ต้องการของหน่วยงาน โดยวิทยาลัยฯ ได้จัดให้มีการแข่งขันเพื่อคัดเลือกตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันทักษะวิชาชีพกับกลุ่มอาชีวศึกษาเอกชน กลุ่มภาคกลางซึ่งจัดการแข่งขันทุกปีการศึกษา และได้รับรางวัลเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง ในสาขางานต่างๆ ส่วนการแข่งขันทักษะวิชาชีพของกลุ่มอาชีวศึกษาของรัฐ ทางวิทยาลัยฯ มีเจตนาจะส่งนักเรียน นักศึกษา เข้าร่วมแข่งขัน แต่ยังคงติดเรื่องระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ อวท. ในปีการศึกษานี้จึงไม่สามารถเข้าร่วมแข่งขันได้ ซึ่งจะดาเนินการในเรื่องคุณสมบัติของวิทยาลัยตามเกณฑ์ของอาชีวศึกษาของรัฐ และจะส่งเข้าร่วมแข่งขันในปีการศึกษา 2562 ต่อไป

2.5) ผลการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ

2.5.1) เชิงปริมาณ : จานวนผู้เรียนที่ผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพรอบแรก 346 คน

2.5.2) เชิงคุณภาพ : ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพรอบแรก คิดเป็นร้อยละ 98.30

2.5.3) ผลสะท้อน : สถานประกอบการ หน่วยงานต่างๆ ที่รับผู้สำเร็จการศึกษาของวิทยาลัยฯ เข้าทางาน มีความพึงพอใจ และยอมรับว่าผู้สำเร็จการศึกษาที่ผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ตามหลักการทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่เรียน และสามารถนามาประยุกต์ใช้กับงานในอาชีพจริง ตลอดจนเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์เหมาะสมกับงานที่ได้รับมอบหมาย วิทยาลัยฯ ได้ดาเนินการเตรียมความพร้อมด้านความรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้เตรียมตัวเข้าสู่การทดสอบมาตรฐานวิชาชีพ ได้ทบทวนความรู้ด้านอาชีพก่อนเข้าสู่การสอบ

2.6) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET)

2.6.1) เชิงปริมาณ : จานวนผู้เรียนที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) 123 คน

2.6.2) เชิงคุณภาพ : ร้อยละของผู้เรียนที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา (V-NET) 34.96 %

2.6.3) ผลสะท้อน : ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา(V-NET) ผู้เรียนที่เข้าทาการทดสอบไม่สามารถทาคะแนนทดสอบได้มากกว่าค่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติขึ้นไป ปรากฎผลต่ำกว่าร้อยละ 50 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ถึงแม้จะมีการจัดทบทวนในรายวิชาต่างๆ ที่จาเป็นต้องใช้ในการทดสอบ แต่ผู้เรียนก็ไม่สามารถทาคะแนนทดสอบได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับชาติ จึงต้องนาปัญหานี้มาทบทวนและหาวิธีการ กระบวนการเพื่อพัฒนาผลการทดสอบV-NET ต่อไป วิทยาลัยฯ ได้จัดให้มีการเตรียมความพร้อมให้นักเรียน นักศึกษา และมีกระบวนการสอบ PRE V-NET ซึ่งเมื่อผลการสอบปรากฏยังคงผ่านเกณฑ์เฉลี่ยระดับชาติแต่ก็ใกล้เคียง ระดับ ปวช. ค่าเฉลี่ยระดับชาติ คือ 41.63 ของวิทยาลัยฯ 36.64 ระดับ ปวส. ค่าเฉลี่ยระดับชาติ 40.04 ของวิทยาลัย 39.56 ซึ่งต้องว่าแผนดาเนินการในปีการศึกษา 2562

2.7) การมีงานทาและศึกษาต่อของผู้สำเร็จการศึกษา

2.7.1) เชิงปริมาณ : จานวนผู้สำเร็จการศึกษา ปวช. และ ปวส. ในปีการศึกษาที่ผ่านมามี งานทาในสถานประกอบการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประกอบ อาชีพอิสระหรือศึกษาต่อ 192 คน

2.7.2) เชิงคุณภาพ : ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษา ปวช. และ ปวส. ในปีการศึกษาที่ผ่าน มามีงานทาในสถานประกอบการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประกอบอาชีพอิสระหรือศึกษาต่อ คิดเป็นร้อยละ 81.36%

2.7.3) ผลสะท้อน : สถานประกอบการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่รับผู้สำเร็จการศึกษาของวิทยาลัยฯ เข้าทางานหรือศึกษาต่อ มีความพึงพอใจต่อคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาทั้งในด้านสมรรถนะหลัก และสมรรถนะทั่วไป ตลอดจนความรู้ หรือทักษะการประยุกต์ใช้ ตามหลักการ ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เรียน สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์เป็นที่ต้องการของหน่วยงาน และสังคม โดยวิทยาลัยฯ ได้ดาเนินการสารวจผู้สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2560 จาก แบบสารวจในช่วงที่ผู้สำเร็จการศึกษามารับวุฒิ จากการส่งไปรษณียบัตร จากการจัดส่งจดหมายทางไปรษณีย์ จากการโทรศัพท์ จาก Line จาก Facebook จากเพื่อนถึงเพื่อน จากการติดต่อสถานที่ทางาน และจากการติดต่อสถานศึกษาที่ไปศึกษาต่อ