Panjavidhya Technological College

1.3 ด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

1.3 ด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

ผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ เจตคติและกิจนิสัยที่ดี ภูมิใจและรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทย เคารพกฎหมาย เคารพสิทธิของผู้อื่น มีความรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ของตนเองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีจิตสาธารณะ และมีจิตสานึกรักษ์สิ่งแวดล้อม

ผลสัมฤทธิ์

3. ด้ำนคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

ผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะทีอันพึงประสงค์ ตามรายการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษา ดังนี้

3.1) การดูแลและแนะแนวผู้เรียน

3.1.1) เชิงปริมาณ : จานวนผู้สำเร็จการศึกษา 333 คน

3.1.2) เชิงคุณภาพ : ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 71.92

3.1.3) ผลสะท้อน : สังคมมีบุคคลที่สำเร็จการศึกษาเป็นคนดี และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ไม่สร้างปัญหาและช่วยพัฒนาสังคมและประเทศชาติ

3.2) ผู้เรียนมีลักษณะที่พึงประสงค์

3.2.1) เชิงปริมาณ : จานวนผู้เรียนที่มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมทีพึงประสงค์ 981 คน

3.2.2) เชิงคุณภาพ : ร้อยละผู้เรียนที่มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมทีพึงประสงค์ หรือผลการประเมิน อวท. หรือ อกท คิดเป็นร้อยละ 79.24

3.2.3) ผลสะท้อน : ในปีการศึกษา 2561 ที่ผ่านมาวิทยาลัยฯยังไม่สามารถดาเนินการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามแนวทางการจัดกิจกรรมขององค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย (อวท.) แต่ในทางปฏิบัติวิทยาลัยฯ จัดให้มีโครงการ กิจกรรมต่างๆ ตลอดปีการศึกษา โดยแต่ละโครงการและกิจกรรม มีวัตถุประสงค์โครงการให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ดังนี้

        1. ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ และเสียสละเพื่อส่วนรวม
        2. ผู้เรียนมีความเป็นประชาธิปไตยทางานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นกัลยาณมิตร
        3. ผู้เรียนมีภาวะผู้นา กล้าแสดงออก
        4. ผู้เรียนภูมิใจในความเป็นไทยเห็นคุณค่าและร่วมพัฒนาภูมิปัญญาไทย
        5. ผู้เรียนมีจิตสานึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยฯ จัดโครงการ กิจกรรม ให้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้ง๕ข้อดังกล่าว ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น วันไหว้ครู วันเข้าพรรษา เข้าค่ายลูกเสือ วันแม่ กิจกรรมบริการชุมชน จิตอาสา เป็นต้น ส่งผลให้ผู้เรียน และผู้สำเร็จการศึกษาได้รับการยอมรับ และพึงพอใจ จากหน่วยงาน ชุมชน ผู้ปกครอง ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยฯจะจัดโครงการ กิจกรรมตามแนวทางการจัดกิจกรรมขององค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย (อวท.) ให้เป็นรูปธรรมต่อไป

3.3) ผู้เรียนมีสมรรถนะในการเป็นผู้ประกอบการหรือการประกอบอาชีพอิสระ

3.3.1) เชิงปริมาณ : 1. จานวนผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระ 0 คน

  2. จานวนผู้เรียนประสบความสำเร็จสู่การเป็นผู้ประกอบการหรือการ ประกอบอาชีพอิสระ 0 คน

3.3.2) เชิงคุณภาพ: ผลการประเมินศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา: ในปีการศึกษา 2561 ที่ผ่านมา ไม่สามารถดาเนินการตามแนวทางของศูนย์บ่มเพาะได้สำเร็จ เนื่องจากวิทยาลัยฯ อยู่ระหว่างดาเนินการขออนุญาต อศจ.จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะภายในวิทยาลัยฯ

3.3.3) ผลสะท้อน : ในปีการศึกษา 2561 ที่ผ่านมา ไม่สามารถดาเนินการตามแนวทางของศูนย์บ่มเพาะได้สำเร็จเนื่องจากวิทยาลัยฯ อยู่ระหว่างดาเนินการขออนุญาต อศจ. จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะภายในวิทยาลัยฯ

3.4) ผลงานของผู้เรียนด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย

3.4.1) เชิงปริมาณ : จานวนผลงาน นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย 3 ชิ้น

3.4.2) เชิงคุณภาพ : รางวัลที่ได้รับจากการประกวดนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย 3 ชิ้น รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ 1 ชิ้น รองชนะเลิศ 2 ชิ้น และรางวัลชนะเลิศระดับนานาชาติ 1 ชิ้น

3.4.3) ผลสะท้อน : วิทยาลัยฯจัดการเรียนการสอนเพียง 1 สาขาวิชา กว่า 40 ปีที่ผ่านมาในสาขาช่างยนต์ โครงการรถประหยัดพลังงานของวิทยาลัยฯกว่า 20 ปีที่ผ่านมา เป็นผลงานของนักเรียนและครูที่ส่งต่อองค์ความรู้ นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยี และอีกหลายๆสิ่งที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ จากรุ่นสู่รุ่น โดยมีเวทีที่ใช้สาหรับพิสูจน์ความสามารถดังกล่าวสาหรับสถานศึกษาทุกระดับ องค์กร หน่วยงาน และประชาชนทั่วไปเพียงรายการเดียวในประเทศไทยคือรายการ Honda Eco Mileage challenge วิทยาลัยฯโดยครูและผู้เรียนได้นาประสบการณ์ต่างๆที่ได้รับจากการเข้าร่วมทาการแข่งขัน พัฒนายานยนต์ประหยัดพลังงานจนได้รับรางวัลชนะเลิศหลายครั้งในหลายปีที่ผ่านมา และสามารถผลักดันตัวเองจนสามารถเข้าร่วมทาการแข่งขันในระดับนานาชาติ(เอเซีย) รายการระดับโลก Shell Eco Marathon และประสบความสำเร็จได้รับรางวัลชนะเลิศ 3 ครั้ง ในปี 2014, 2016, 2018 ทาให้วิทยาลัยฯเป็นที่ยอมรับของหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ตลอดจนนักเรียนที่เป็นทีมงานได้รับการคัดเลือกเข้ารับรางวัลพระทานนักเรียนที่มีผลงานทางด้านอาชีวศึกษาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา นับเป็นความภูมิใจของวิทยาลัยฯ

3.5) ผลการแข่งขันทักษะวิชาชีพ

3.5.1) เชิงปริมาณ : จานวนผู้เรียนที่ได้รับรางวัลจากการแข่งขันทักษะวิชาชีพ 12 คน

3.5.2) เชิงคุณภาพ : ผลการแข่งขันทักษะวิชาชีพในแต่ละระดับ ระดับจังหวัด 1 เหรียญเงิน 1 เหรียญทองแดง ระดับภาค 2 เหรียญทอง 4 เหรียญเงิน 1 เหรียญทองแดง

3.5.3) ผลสะท้อน : วิทยาลัยฯ เปิดสอนเพียง 2 สาขางาน คือสาขางานยานยนต์ในระดับปวช. และสาขางานเทคนิคยานยนต์ในระดับปวส. วิทยาลัยฯ จัดการเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ ตามหลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสาขางานที่เรียน ผู้เรียนที่ได้รับรางวัลจากการแข่งขันทักษะวิชาชีพ เมื่อสำเร็จการศึกษาและมีงานทา สถานประกอบการ หน่วยงานที่รับเข้าทางานต่างพอใจ ในความสามารถ และทักษะ ที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นที่ต้องการของหน่วยงาน

3.6) ผลการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ

3.6.1) เชิงปริมาณ : จานวนผู้เรียนที่ผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพรอบแรก 346 คน

3.6.2) เชิงคุณภาพ : ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพรอบแรก คิดเป็นร้อยละ 98.30

3.6.3) ผลสะท้อน : สถานประกอบการ หน่วยงานต่างๆ ที่รับผู้สำเร็จการศึกษาของวิทยาลัยฯ เข้าทางาน มีความพึงพอใจ และยอมรับว่าผู้สำเร็จการศึกษาที่ผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ตามหลักการทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่เรียน และสามารถนามาประยุกต์ใช้กับงานในอาชีพจริง ตลอดจนเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์เหมาะสมกับงานที่ได้รับมอบหมาย

3.7) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET)

3.7.1) เชิงปริมาณ : จานวนผู้เรียนที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) 123 คน

3.7.2) เชิงคุณภาพ : ร้อยละของผู้เรียนที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา (V-NET) 34.96 %

3.7.3) ผลสะท้อน : ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา(V-NET) ผู้เรียนที่เข้าทาการทดสอบไม่สามารถทาคะแนนทดสอบได้มากกว่าค่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติขึ้นไป ปรากฎผลต่ากว่าร้อยละ 50 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ถึงแม้จะมีการจัดทบทวนในรายวิชาต่างๆ ที่จาเป็นต้องใช้ในการทดสอบ แต่ผู้เรียนก็ไม่สามารถทาคะแนนทดสอบได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับชาติ จึงต้องนาปัญหานี้มาทบทวนและหาวิธีการ กระบวนการเพื่อพัฒนาผลการทดสอบ V-NET ต่อไป

3.8) การมีงานทาและศึกษาต่อของผู้สำเร็จการศึกษา

3.8.1) เชิงปริมาณ : จานวนผู้สำเร็จการศึกษา ปวช. และ ปวส. ในปีการศึกษาที่ผ่านมามีงานทา ในสถานประกอบการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประกอบอาชีพอิสระ หรือศึกษาต่อ 192 คน

3.8.2) เชิงคุณภาพ : ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษา ปวช. และ ปวส. ในปีการศึกษาที่ผ่าน มามีงานทาในสถานประกอบการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประกอบอาชีพอิสระหรือศึกษาต่อ คิดเป็นร้อยละ 81.36%

3.8.3) ผลสะท้อน : สถานประกอบการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่รับผู้สำเร็จการศึกษาของวิทยาลัยฯ เข้าทางานหรือศึกษาต่อ มีความพึงพอใจต่อคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาทั้งในด้านสมรรถนะหลัก และสมรรถนะทั่วไป ตลอดจนความรู้ หรือทักษะการประยุกต์ใช้ ตามหลักการ ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เรียน สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์เป็นที่ต้องการของหน่วยงานและสังคม

3.9) การบริการชุมชนและจิตอาสา

3.9.1) เชิงปริมาณ : จานวนกิจกรรมในการบริการชุมชนและจิตอาสา 14 กิจกรรม

3.9.2) เชิงคุณภาพ : วิทยาลัยฯ จัดให้มีการบริการชุมชน บริการวิชาชีพ และจิตอาสามานานเกือบ 20 ปี โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่ให้การบริการโดยอยู่ในความควบคุมดูแลของผู้บริหาร และครูที่รับผิดชอบ โดยจัดให้มีบริการบารุงรักษาที่เกี่ยวกับยานพาหนะ เครื่องยนต์ต่างๆ ที่ใช้ในงานประจาวัน ตลอดจนกิจกรรมจิตอาสาที่เกิดขึ้นในวาระต่างๆ ที่ได้รับการร้องขอจากหน่วยงานของรัฐ ชุมชน วัดผลการประเมิน และกิจกรรมในการบริการชุมชนและจิตอาสา ผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพดีเลิศ

3.9.3) ผลสะท้อน : หน่วยงานของรัฐ ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วัด ให้การยอมรับและพอใจวิทยาลัยๆ ในการจัดให้ผู้เรียนที่มีความรู้ ทักษะได้ออกบริการชุมชน และงานจิตอาสาในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง ตลอดจนต่างพื้นที่ที่ห่างไกล

4.1.2 จุดเด่น

วิทยาลัยฯ ได้ดาเนินงานตามแผนงาน และโครงการที่กาหนดไว้ในปีการศึกษา 2561 เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาที่เข้าศึกษา สามารถจบการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ทั้งด้านความรู้ ทักษะและการประยุกต์ใช้ และคุณธรรมจริยธรรม และคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ มีผลการดาเนินงานที่เป็นจุดเด่น ได้แก่

1. นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ ตามโครงการรถประหยัดพลังงาน ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับชาติ และนานาชาติ หลายครั้ง ตลอดหลายปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งสะสมความรู้ ประสบการณ์ และพัฒนาต่อยอดในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา อยู่ในระดับยอดเยี่ยม
2. ผู้เรียนที่ผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพในภาพรวม มีผลการสอบผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 98.29% อยู่ในระดับยอดเยี่ยม
3. ผู้สำเร็จการศึกษาในปีที่ผ่านมามีงานทาและศึกษาต่อ คิดเป็นร้อยละ 81.36 สถานประกอบการมีความพึงพอใจทั้งทักษะการปฏิบัติ ตลอดจนการมีคุณธรรม จริยธรรม ของผู้สำเร็จการศึกษา อยู่ในระดับยอดเยี่ยม
4. การบริการชุมชนและจิตอาสา ได้รับการร้องขอจากหน่วยงานของรัฐ หรือชุมชนใกล้เคียง รวมทั้งต่างจังหวัด ตลอดปีการศึกษา อยู่ในระดับดีเลิศ

4.1.3 จุดที่ควรพัฒนา

ในการดาเนินงานของวิทยาลัยฯ ยังมีประเด็นที่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ และจะต้องนาไปกาหนดแผนงาน โครงการ ในการพัฒนาปรับปรุงในปีการศึกษา 2562 ให้เกิดผลการประเมินคุณภาพสูงขึ้น ดังต่อไปนี้

1. จานวนผู้สำเร็จการศึกษาเมื่อเทียบกับแรกเข้า และจานวนผู้เรียนที่ออกกลางคัน โดยมีผลการประเมินผู้สำเร็จการศึกษา 71.92 อยู่ในระดับดีเลิศ
2. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามแนวทางการจัดกิจกรรมขององค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย (อวท.) รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสมรรถนะในการเป็นผู้ประกอบการหรือการประกอบอาชีพอิสระหรือศูนย์บ่มเพาะให้เป็นรูปธรรมตามหลักสูตร
3. ส่งเสริมกิจกรรม โครงการ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ให้เกิดกับผู้เรียนและผู้ที่จะสำเร็จการศึกษา
4. ผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับชาติ ซึ่งการประเมินได้ร้อยละ 34.96 ซึ่งอยู่ในระดับกาลังพัฒนา
5. จานวนรายวิชาที่ส่งผู้เรียนเข้าทาการแข่งขันทักษะวิชาชีพภายนอก

4.1.4 ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

วิทยาลัยฯ ได้เตรียมการเพื่อปรับแผนการปฏิบัติการในปีการศึกษา 2562 โดยปรับและเพิ่มแผนงาน โครงการเพื่อให้เกิดผลคุณภาพเพิ่มขึ้นโดย

1. จัดให้มีกระบวนการ หรือโครงการต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาการออกกลางคัน และเพิ่มจานวนผู้สำเร็จการศึกษาให้มากขึ้น
2. สนับสนุน ส่งเสริม การจัดกิจกรรมต่างๆ ให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถ ความรู้ ทักษะ ผ่านการแข่งขันทักษะวิชาชีพ สิ่งประดิษฐ์ และมีโอกาสเข้าร่วมในเวทีต่างๆ มากขึ้น
3. ขอรับการสนับสนุนด้านต่างๆ จากหน่วยงานของรัฐ เอกชน ชุมชน เพื่อจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
4. จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาวิธีการ หรือกระบวนการ ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ เพื่อให้ผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) มีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติสูงขึ้น