1. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 กาหนดให้สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยการกาหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกาหนด พร้อมทั้งจัดทาแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและดาเนินการตามแผนที่กาหนดไว้ จัดให้มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดาเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ซึ่งคณะกรรมการผู้จัดทาแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีช่างฝีมือปัญจวิทยา ได้จัดทาแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และดาเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาทั้ง 3 มาตรฐานเรียบร้อยแล้วดังนี้
1.1 ผลสัมฤทธิ์
ผลการพัฒนาคุณภาพของวิทยาลัยเทคโนโลยีช่างฝีมือปัญจวิทยา ในรอบปีการศึกษา 2561 ที่ผ่านมา วิทยาลัยฯ ดาเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาทั้ง 3 มาตรฐาน ผ่านแผนพัฒนาคุณภาพ และแผนปฏิบัติการประจาปีการศึกษา 2561 มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอยู่ในระดับยอดเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 87.6 โดยแยกเป็นรายละเอียดแต่ละด้านดังนี้
-
- ด้านผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาร้อยละ 86.4
- ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนร้อยละ 78
- ด้านผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษาร้อยละ 91
- ด้านการมีส่วนร่วมร้อยละ 96
- ด้านปัจจัยพื้นฐานร้อยละ 88
ผลการประเมินมาตรฐานการอาชีวศึกษาของสถานศึกษาอยู่ในระดับ 89.11 โดยมีรายละเอียดดังนี้
-
- มาตรฐานที่ 1 คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาที่พึงประสงค์ 87.05
- มาตรฐานที่ 2 การจัดการอาชีวศึกษา 87.14
- มาตรฐานที่ 3 การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 93.13
ผลการประเมินตามแนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในแต่ละประเด็น มีผลการประเมินดังนี้
-
- การดูแลและแนะแนวผู้เรียน ระดับคุณภาพดีเลิศ
- ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ระดับคุณภาพดี
- ผู้เรียนมีสมรรถนะในการเป็นผู้ประกอบการหรือการประกอบอาชีพอิสระ ระดับคุณภาพ กาลังพัฒนา
- ผลงานของผู้เรียนด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์งานสร้างสรรค์หรืองานวิจัย ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
- ผลการแข่งขันทักษะวิชาชีพ ระดับคุณภาพดี
- ผลการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม
- ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ระดับคุณภาพกาลังพัฒนา
- การมีงานทาและศึกษาต่อของผู้สำเร็จการศึกษา ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม
- การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างเป็นระบบ ระดับคุณภาพดีเลิศ
- การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ หรือปรับปรุงรายวิชา หรือปรับปรุงรายวิชาเดิม หรือกาหนดรายวิชาเพิ่มเติม ระดับคุณภาพปานกลาง
- คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม
- การจัดทาแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่เน้นผู้เรียน เป็นสาคัญและนาไปใช้ใน การจัดการเรียนการสอน ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม
- การจัดการเรียนการสอน ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม
- การบริหารจัดการชั้นเรียน ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม
- การพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ ระดับคุณภาพดี
- การบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม ระดับคุณภาพดีเลิศ
- การบริหารจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
- การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม
- การระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการเรียนการสอน ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม
- การบริการชุมชนและจิตอาสา ระดับคุณภาพดีเลิศ
- อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน หรืองานฟาร์ม ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
- ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม
- แหล่งเรียนรู้และศูนย์วิทยบริการ ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม
- ระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการใช้งานด้านสารสนเทศภายในสถานศึกษา ระดับคุณภาพดีเลิศ
- การเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ระดับคุณภาพดี
1.2 จุดเด่น
-
- วิทยาลัยฯประสบความสำเร็จในการผลิตนักเรียน นักศึกษาให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรวมเป็นไปตามเกณฑ์ที่กาหนดตามชั้นปี ผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพในครั้งแรกตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ อยู่ในระดับคุณภาพยอดเยี่ยม รวมทั้งผู้สำเร็จการศึกษาในปีที่ผ่านมามีงานทา ศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพอิสระจานวนมากจัดอยู่ในระดับคุณภาพยอดเยี่ยมเช่นกัน เมื่อเข้าทางานในสถานประกอบการสามารถใช้ความรู้ ทักษะและการประยุกต์ใช้ คุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์กับงานและชีวิตประจาวันได้ เป็นที่ยอมรับและพึงพอใจของหน่วยงานนั้นๆ ปัจจัยที่สาคัญที่นามาซึ่งความสำเร็จ คือ ความพร้อมในด้านบุคลากรที่เป็นครูวิชาชีพและครูวิชาสามัญ/ พื้นฐาน ที่มีประสบการณ์เพียงพอ ได้รับการพัฒนา ในขณะที่มีวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ อย่างเพียงพอเช่นเดียวกัน
- วิทยาลัยฯ มีวัสดุ อุปกรณ์เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอุปกรณ์ เครื่องมือฝึก ที่มีจานวนและสัดส่วนที่เพียงพอเหมาะสม ส่วนครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาโดยเฉลี่ยในระดับสูง และมีสัดส่วนของผู้เรียนต่อครูวิชาชีพโดยรวมในระดับมาตรฐาน พร้อมงบประมาณในการซ่อมบารุงที่ได้จัดสรรให้ระดับสูง ปัจจัยหลักที่ทาให้เกิดความสำเร็จได้แก่ นโยบายเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่กล้าตัดสินใจในการจัดงบประมาณให้อย่างเพียงพอ
- วิทยาลัยฯ มอบหมายให้ครูจัดทาแผนการจัดการเรียนรู้ครบตามหลักสูตร มีการวัดผลประเมินผลที่หลากหลายจัดเครื่องมือและอุปกรณ์การฝึกไว้อย่างครบถ้วน เพียงพอ จัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกประสบการณ์ทางภาคปฏิบัติ ครูผู้สอนมีคุณวุฒิตรงตามสาขาวิชาที่สอน มีการวัดผลแและประเมินผลตามสภาพจริง นอกจากนี้วิทยาลัยฯ ยังได้จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านวิชาการ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และกิจกรรมสารสนเทศ ดูงาน และอบรมความรู้ในด้านต่าง ๆ ซึ่งเอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน ในด้านระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน วิทยาลัยฯ กาหนดให้มีการจัดทาแผนงานและโครงการ ครอบคลุมในทุกด้าน เช่น ด้านความปลอดภัย ด้านการทะเลาะวิวาท ด้านสิ่งเสพติด ด้านสังคม ด้านการพนัน และการมั่วสุม โดยครูและบุคลากรทุกคน ทุกฝ่ายของวิทยาลัยฯ มีส่วนร่วมในการดาเนินงาน ตามโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
- วิทยาลัยฯ จัดให้มีกิจกรรม/ โครงการต่าง ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อย่างหลากหลาย เช่นคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ เสียสละ เป็นประชาธิปไตย เป็นต้น ในขณะที่อัตราส่วนของผู้เรียนซึ่งเข้าร่วมกิจกรรม/ โครงการดังกล่าว ก็อยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ยังสามารถระดมทรัพยากรอันเป็นปัจจัยการบริหารจากภายนอกมาร่วมหรือใช้ในการดาเนินงานด้านการศึกษา ความสำเร็จเหล่านี้มาจากปัจจัยบุคลากรทั้งผู้บริหารและฝ่ายปฏิบัติการที่นาพันธกิจมากาหนดเป็นวัตถุประสงค์และแผนปฏิบัติงานอย่างครอบคลุม
- วิทยาลัยฯ ได้ดาเนินการโครงการ/ กิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนได้นาความรู้ ทักษะมาใช้ในกิจกรรมการบริการชุมชนและกิจกรรมจิตอาสา สู่สังคมได้อย่างหลากหลาย เพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาหรือตอบสนองความต้องการของสังคม หน่วยงาน ชุมชน ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ ผู้บริหารและบุคลากรระดับต่าง ๆ ได้แสดงถึงการมีแผนการปฏิบัติงาน การกากับติดตามและประเมินผลที่ชัดเจน
- ผู้เรียนผลิตนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ ที่เป็นผลงานที่แสดงถึงความรู้ ทักษะของผู้เรียนผ่านการศึกษาตามสาขาวิชา โดยมีงบประมาณดาเนินการในระดับสูง สะท้อนถึงการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกปฏิบัติจริง ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ วิทยาลัยฯ มุ่งเน้นความสำเร็จในทางวิชาการและกาหนดงบประมาณให้ตามนโยบายอย่างเพียงพอ สามารถสร้างผลงานได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ และระดับนานาชาติในหลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
- ผู้บริหารมีศักยภาพสูง ในการบริหารจัดการ ทั้งในด้านทักษะเชิงมโนทัศน์ ทักษะเชิงมนุษยสัมพันธ์และทักษะเชิงเทคนิคหรือวิชาการ สามารถแสวงหาซึ่งความร่วมมือจากภายนอกเพื่อมาร่วมจัดการศึกษา ในขณะที่ได้จัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายใน อันประกอบด้วยกลไกต่าง ๆ มีการกาหนดปัจจัย กระบวนการและเป้าหมาย ผลิตผลอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม และดาเนินการโดยต่อเนื่อง ปัจจัยแห่งความสำเร็จขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของตัวผู้บริหารเอง ทาให้สามารถใช้ทักษะได้อย่างรอบด้าน ทาให้วิทยาลัยฯ ได้รับความร่วมมืออย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลที่ผู้บริหารได้ใช้จุดแข็งของตนเอง คือ ทักษะมนุษยสัมพันธ์ ที่ได้ทุ่มเทและอุทิศตนให้เห็นในเชิงประจักษ์ เพื่อการทางานให้กับสังคมมาอย่างต่อเนื่อง
- จากการย้ายสถานที่ตั้งมาอยู่ในที่ตั้งแห่งใหม่ซึ่งมีขนาดเนื้อที่มากขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2558 วิทยาลัยฯ จึงมีโอกาสออกแบบอาคาร โรงฝึกงาน ขนาดห้องเรียน ห้องปฏิบัติ รวมทั้งจัดระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานให้ได้มาตรฐานก่อนลงมือก่อสร้างโดยคานึงถึงความเพียงพอ และความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนจัดหาสิ่งอานวยความสะดวกในด้านต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการใช้สอย ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ มีระบบความปลอดภัยที่ดี ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ตลอดจนผู้ปกครอง ชุมชน ที่ได้เข้ามาใช้บริการหรือสัมผัสกับวิทยาลัยฯ ต่างชื่นชม ในความพร้อมของอาคารสถานที่ ตลอดจนภูมิทัศน์ของวิทยาลัยฯ
1.3 จุดที่ควรพัฒนา
-
- วิทยาลัยฯ ต้องสนับสนุน ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามแนวทางการจัดกิจกรรมขององค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย (อวท.) รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสมรรถนะในการเป็นผู้ประกอบการหรือการประกอบอาชีพอิสระหรือศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจในสถานศึกษาให้เป็นรูปธรรมตามหลักสูตร
- วิทยาลัยฯ ต้องสนับสนุน ส่งเสริม ให้ครูได้รับการพัฒนาตามแผนพัฒนาตนเองและกระบวนการพัฒนาวิชาชีพ เพื่อที่จะนาผลการพัฒนาตนเองมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
- วิทยาลัยฯ ต้องสนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ หรือปรับปรุงรายวิชา หรือกาหนดรายวิชาเพิ่มเติมให้ครบทุกสาขางาน ภายใน 5 ปี
- วิทยาลัยฯต้องจัดทาแผนงาน/โครงการหรือกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหารการออกกลางคันของผู้เรียนให้เป็นรูปธรรม
- วิทยาลัยฯต้องจัดให้มีการเพิ่มรายวิชาและเวทีการเข้าแข่งขันทักษะ สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม งานวิจัย การประกวดต่างๆ ที่จัดโดย สอศ. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มประสบการณ์ของผู้เรียน
1.4 ข้อเสนอแนะเพื่อกำรพัฒนา
-
- วิทยาลัยฯ ควรสนับสนุน ส่งเสริม ผู้เรียนหรือกลุ่มผู้เรียนจัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โดยความสมัครใจตามความสนใจ
- วิทยาลัยฯ ควรสนับสนุน ส่งเสริม ให้ผู้เรียนหรือผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษเข้าร่วมการแข่งขันทักษะวิชาชีพหรือการประกวดในเรื่องต่างๆ ในระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติให้มากขึ้น
- วิทยาลัยฯ ควรจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างเป็นระบบให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความต้องการของตลาดแรงงาน
- วิทยาลัยฯ ควรจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาวิธีการ หรือกระบวนการ ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ก่อนเข้าทาการทดสอบการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ให้มีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติสูงขึ้น
2. การสร้ำงความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสถานประกอบการ
ตลอดระยะเวลาเกือบ 50 ปี วิทยาลัยเทคโนโลยีช่างฝีมือปัญจวิทยา ได้สร้างความมั่นใจให้กับผู้เกี่ยวข้อง และสถานประกอบการ ผ่านการผลิตผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคุณภาพมากกว่าสองหมื่นคนที่มีความรู้ ทักษะและการประยุกต์ใช้ ในสาขาวิชาที่เรียน ตลอดจนการเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพ สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและเป็นคนดีของสังคม วิทยาลัยฯได้ดาเนินงานอย่างมีคุณภาพ โดยกาหนดมาตรฐานคุณภาพของวิทยาลัย นามาจัดทาแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจาปีการศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในสถานศึกษา สถานประกอบการ และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา ผลการศึกษาทาให้ผู้สำเร็จการศึกษาเป็นที่ยอมรับของสถานประกอบการในการรับเข้าทางานอย่างต่อเนื่อง และสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ในปีการศึกษาแต่ละปีจะมียอดนักเรียน นักศึกษาสนใจเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยฯ มีจานวนเพิ่มขึ้นทุกปี ครูผู้สอนภายในวิทยาลัยฯ มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางตามสาขางานที่รับผิดชอบ และมีการพัฒนาตนเองด้านวิชาการ วิชาชีพอย่างสม่าเสมอ ผลงานที่เป็นที่ประจักษ์ถึงความชานาญด้านยานยนต์ของวิทยาลัยฯ คือการเข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติในงาน Honda ECO Mileage Challenge จนได้รับรางวัลชนะเลิศ 2 ปีซ้อน และได้คว้าแชมป์ประเภท Prototype หรือยานยนต์ต้นแบบแห่งอนาคต โดยสามารถวิ่งทาระยะทางได้ไกลถึง 2,341.1 กิโลเมตร ด้วยปริมาณเชื้อเพลิงเพียงหนึ่งลิตร ทีมนักศึกษาร่วมแข่งขันทั้งหมด 122 ทีม จาก 18 ประเทศทั่วเอเชียแปซิฟิก ในปี 2018 ปีที่ 9 ณ ประเทศ สิงคโปร์
3. การจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่บรรลุเป้ำประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัด
วิทยาลัยฯ ได้ดาเนินงานตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ดังนี้
- การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ วิทยาลัยฯ ได้ดาเนินการพัฒนาหลักสูตรจักรยานยนต์ จากรระบบคาร์บูเรเตอร์เป็นระบบหัวฉีด และดาเนินการจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาแล้วในปีการศึกษา 2561
- สถานศึกษาคุณธรรม วิทยาลัยฯ ได้ดาเนินการจัดโครงการสถานศึกษาคุณธรรม และได้กาหนดอัตลักษณ์คุณธรรมสถานศึกษาให้ ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน นักศึกษา “ปัญจมีวินัย ใส่ใจพอเพียง พร้อมเพรียงจิตอาสา”
- องค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย (อวท.) วิทยาลัยฯ ดาเนินการรับสมัคร เลือกตั้ง และจัดตั้งคณะกรรมการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย และส่งเรื่องรายงานให้อาชีวศึกษาจัดหวัดทราบ
- ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา วิทยาลัยฯ ได้เริ่มให้ความรู้บุคลากรภายในวิทยาลัยฯ และเตรียมจะดาเนินงานให้เป็นรูปธรรมในปีการศึกษา 2562 ต่อไป
- ลูกเสือวิสามัญ วิทยาลัยฯ ได้ดาเนินการส่งบุคลากรไปอบรมผู้กากับลูกเสื่อวิสามัญ และได้นากิจกรรมลูกเสือวิสามัญเข้ามาใช้ในการจัดกิจกรรมในระดับชั้น ปวช. 1